อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
ตราสัญลักษณ์
ที่ตั้งและขนาด
องค์การบริหารส่วนตำบลวัดสน อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอระโนดประมาณ 17 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 23.49 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 14,681 ไร่ และมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ อบต.ระวะ และอบต.พังยาง
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เทศบาลตำบลบ่อตรุ และอบต.ระวะ
- ;ทิศใต้ ติดต่อกับ อบต.ชุมพล และ อบต.เชิงแส
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อบต.เชิงแส และ อบต.โรง
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศของตำบลวัดสน เป็นที่ราบลุ่ม มีคลองส่งน้ำตัดผ่าน คือ คลองอาทิตย์ และคลองหมอนนา ดินมีลักษณะเป็นดินเหนียวและดินร่วนปนทราย
เดิมองค์การบริหารส่วนตำบลวัดสน เริ่มจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 16 ธันวาคม 2539 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 113 ตอนพิเศษ 52 ง ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2539 มีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 3 หมู่บ้าน หมู่ที่ 2 บ้านยางเอนเต็มที่, หมู่ที่ 3 บ้านวัดสน (บางส่วน) และหมู่ที่ 4 บ้านพังขาม (บางส่วน) เป็น 1 ใน 11 องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

ต่อมากระทรวงมหาดไทยได้ประกาศ เรื่องยุบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อตรุรวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลวัดสน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ประกาศในราชกิจนุเบกษา เล่มที่ 17 ตอน 92 ง ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2543 มีผลบังคับใช้ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2544 ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลวัดสนมีหมู่บ้านเพิ่มขึ้นเป็น 5 หมู่บ้าน คือ
1. หมู่ที่ 2 ตำบลวัดสน บ้านยางเอน , บ้านวัดนก , บ้านสามฐี (เต็มพื้นที่)
2. หมู่ที่ 3 ตำบลวัดสน บ้านวัดสน (บางส่วน)
3. หมู่ที่ 4 ตำบลวัดสน บ้านพังขาม (บางส่วน)
4. หมู่ที่ 4 ตำบลบ่อตรุ บ้านวัดประดู่ (บางส่วน)
5. หมู่ที่ 5 ตำบลบ่อตรุ บ้านโพธิ์แค่ (บางส่วน)
วิสัยทัศน์

"สร้าง รักษา แก้ปัญหา พัฒนา"

พันธกิจ

1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคม ด้านการไฟฟ้า ด้านประปา แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 2. ส่งเสริมการสาธารณสุข และบริการสุขภาพอย่างทั่วถึง
3. ให้การสงเคราะห์เด็ก สตรี คนชรา คนพิการ และประชาชนผู้ด้อยโอกาส
4. ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว และสังคมในการร่วมกัน ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
5. ส่งเสริมและพัฒนาด้านการกีฬาทุกระดับ
6. ส่งเสริมด้านการศึกษาทุกระดับ
7. จัดระบบการรักษาความสงบเรียบร้อยและป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
8. อนุรักษ์ฟื้นฟูและใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า
9. ส่งเสริมคุณภาพชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
10.ส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น
11.ส่งเสริมระบบการเมืองการปกครองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
12.ปรับปรุงประสิทธิภาพการตรวจสอบและติดตามประเมินผลการบริการสาธารณะให้มีคุณภาพ
13.การพัฒนา ปรับปรุง จัดหา เครื่องมือเครื่องใช้เพื่อการบริการที่ดีมีประสิทธิภาพ
14.พัฒนาระบบงานสารสนเทศ